top of page

มาตรฐานการจัดบริการคนพิการในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพและศูนย์พัฒนาอาชีพคนพิการ

          สถานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดบริการคนพิการในสถานสงเคราะห์ ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพและศูนย์พัฒนาอาชีพคนพิการ (SAR)  จาก กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เมื่อปี  พ.ศ. 2551 , 2555    

 

         สาระสำคัญ :  มาตรฐานการ จัดบริการคนพิการในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพและศูนย์พัฒนาอาชีพคนพิการ  ถูกกำหนดโดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ซึ่งสำนักบริการสวัสดิการสังคม ซึ่งมีหน่วยงานให้บริการ     คนพิการ  ให้ใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาการดูแลคนพิการที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพของคนพิการที่อยู่ในความดูแล นอกจากนี้  ยังได้นำพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ  ชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาพิจารณาด้วย

 

           วัตถุประสงค์ :

                           1.  เพื่อให้คนพิการ ได้รับการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิเพื่อสร้างหลักประกันให้ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพอย่างทั่วถึง เท่าเทียมกัน ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี

                           2. เพื่อให้บุคลากรทุกระดับในองค์กรได้ใช้ประโยชน์จากผลการตรวจประเมินในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กรของตน

 

           องค์ประกอบตัวชี้วัดและ ระดับคุณภาพมาตรฐาน :

                           ด้านที่ 1  ด้านการจัดองค์กรและการบริหาร   มี 29 องค์ประกอบ  131   ตัวชี้วัด

                           ด้านที่ 2  ด้านการให้บริการ  มี 16 องค์ประกอบ  76  ตัวชี้วัด

                           ด้านที่ 3  คุณภาพการให้บริการ  มี  7 องค์ประกอบ   33  ตัวชี้วัด

                                   

         กลไกการตรวจประเมิน :

  1. องค์กรแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินภายในองค์กรและจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR)

  2. คณะกรรมการภายนอก (สำนัก กรม) ตรวจประเมินที่องค์กร

 

 ลักษณะการตรวจประเมิน :

         1.  การประเมินเชิงปริมาณ

                  1.1     คะแนน 5   ระดับ  (0,2,3,4,5)

1.2    ผ่าน/ไม่ผ่าน

         2. การประเมินเชิงคุณภาพ

                  -  จุดเด่น จุดที่ควรปรับปรุง  แนวทางการพัฒนา

                  - องค์กรเป็นตัวตั้ง (การประเมินระดับองค์กร) กลุ่มเป้าหมายและองค์กรได้ประโยชน์

                  -    ยึดหลักธรรมาภิบาล  (ความรับผิดชอบ ความเป็นธรรม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมและความชัดเจน)

                 

วิธีการตรวจประเมิน :

                  1.  ตรวจรายงานการประเมินตนเอง

                  2. แจ้งผลการตรวจประเมินอย่างเป็นทางการ

 

                   ผลการประเมิน :     ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555  สถานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี ได้ มีผลตรวจประเมินมาตรฐาน ฯ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3  ด้าน  ดังนี้

                    ด้านที่ 1 การจัดองค์กรและการบริหาร   ร้อยละ 96.55

                    ด้านที่ 2 การให้บริการ  คิดเป็นร้อยละ 100.00

                    ด้านที่ 3 คุณภาพการให้บริการ  คิดเป็นร้อยละ 97.14

                    สรุปค่าเฉลี่ยทั้ง 3 ด้าน คิดเป็นร้อยละ 97.14

มาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ PMQA

             สาระสำคัญ : PMQA เป็นคำย่อมาจาก Public Sector Management Quality Award    แปลเป็นภาษาไทยว่า รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งประเทศไทยโดย ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้ประยุกต์นำมาจาก MBNQA (รางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา) และ TQA (รางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศไทย) เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย และกำหนดเป็น “เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ” หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า PMQA คือการนำหลักเกณฑ์และแนวทางการบริหารองค์การที่เป็นเลิศ ซึ่งได้ยอมรับเป็นมาตรฐานสากลโลกมาประยุกต์ใช้พัฒนาระบบบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ โดยอาศัยหลักการประเมินองค์กรด้วยตนเองเป็นการทบทวนสิ่งที่องค์กรดำเนินการเทียบกับเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เมื่อตรวจพบว่าเรื่องใดยังไม่อยู่ในระบบที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับเกณฑ์ องค์กรจะได้พัฒนาวิธีปฏิบัติเพื่อปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานไปสู่มาตรฐานระดับสากล

วัตถุประสงค์  :

1. เพื่อยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานของภาครัฐให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2. เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของหน่วยสู่ระดับมาตรฐานสากล
3. เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการประเมินตนเอง และเป็นบรรทัดฐานการติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการของหน่วยงานภายใน

 
องค์ประกอบของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  :  ประกอบด้วย
1) ลักษณะสำคัญขององค์กร
2) เกณฑ์คุณภาพการบริการจัดการภาครัฐ ประกอบไปด้วยเกณฑ์ 7 หมวด คือ
หมวด 1 การนำองค์กร
หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
หมวด 6 การจัดการกระบวนการ
หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

 

กลไกการตรวจประเมิน :

  1. องค์กรประเมินตนเองตามเกณฑ์ฯ ระดับพื้นฐาน ( PMQA-FL)  ครบถ้วนทุกหมวด

  2. ปรับปรุงองค์กรตามเกณฑ์ (แผนการพัฒนาองค์การ)

  3. ประเมินตนเองตามเกณฑ์รางวัล

  4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การยื่นขอรับการประเมินพร้อมจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ฯ

  5. คณะกรรมการตรวจประเมินองค์กร

  6. กพร. ในแต่ละระดับพิจารณาการประเมินเห็นชอบการผ่านมาตรฐานฯ

 

 ลักษณะการตรวจประเมิน :

         1.   มิติด้านการบริหารจัดการ 200 คะแนน  ดังนี้

- ประเมินองค์การด้วยตนเอง ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ครบถ้วน คะแนนเต็ม 100 คะแนน

- ความสอดคล้องของแผนพัฒนาองค์การด้วยกับผลการประเมินองค์การด้วยตนเอง คะแนนเต็ม 100 คะแนน  

         2.    มิติด้านผลการดำเนินงาน 450 คะแนน มีแนวทางการพิจารณา จาก ความสำเร็จของการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน คะแนนเต็ม 450 คะแนน

                 

วิธีการตรวจประเมิน :

                  1.   ระยะที่ ๑  ตรวจประเมินรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงาน ดังนี้

                                    - รายงานผลการประเมินองค์การด้วยตนเอง ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

                                    - แผนพัฒนาองค์การ ประจำปี พ.ศ. 2554

                  2.    ระยะที่ 2 ตรวจเยี่ยมประเมินในพื้นที่ เป็นการประเมินจากข้อมูลการปฏิบัติจริงในพื้นที่ (เชิงคุณภาพ)

 

                   ผลการประเมิน :   สถานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี   ได้ขอรับการพิจารณาคัดเลือกหน่วยงานดีเด่น ประจำปี 2554 ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ประเภทการพัฒนาระบบบริหารจัดการ ซึ่งได้ผลคะแนนจากการประเมิน ดังนี้

 

มิติด้านการบริหารจัดการ

         -  ประเมินองค์การด้วยตนเอง ตามโปรแกรม FL   ครั้งที่ 1 และ 2  = 100   คะแนน

         -  ความสอดคล้องของแผนกับการประเมินองค์การด้วยตนเอง ตามโปรแกรม FL = 100   คะแนน

         มิติผลการดำเนินงาน

         -  หมวด 1-6 = 390 คะแนน

         -  หมวด 7  = 60   คะแนน

         คะแนนรวม   = 382 คะแนน

                  ซึ่งสถานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการพิจารณาได้รับรางวัลหน่วยงานดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๔ ระดับชมเชย ประเภท การพัฒนาระบบบริหารจัดการ (PMQA) จากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

LINE_ALBUM_230319_4
LINE_ALBUM_230319_5
LINE_ALBUM_230319_6
LINE_ALBUM_230319_2

มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมขององค์กรการสวัสดิการสังคม

         สาระสำคัญ :  มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมขององค์กรการสวัสดิการสังคมกำหนดโดย  คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ว่าด้วยมาตรฐานการจัดสวัสดิการสังคม  พ.ศ. ๒๕๕๐ และระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ  ว่าด้วยการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2550 รวมทั้งให้ความเห็นชอบตัวชี้วัด  และเกณฑ์การประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม    ขององค์การสวัสดิการสังคม นักสังคมสงเคราะห์ และอาสาสมัคร

 

           วัตถุประสงค์ :

                           1.  เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานในการปฏิบัติงานขององค์การสวัสดิการสังคม

                           2. เพื่อใช้เป็นแนวทางการประเมินและพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาสู่การบริการที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน

 

           องค์ประกอบตัวชี้วัดและ ระดับคุณภาพมาตรฐาน :

                           ด้านที่ 1  ด้านการจัดองค์กรและการบริหาร   มี 14 องค์ประกอบ

                           ด้านที่ 2  ด้านการให้บริการ  มี 4 องค์ประกอบ

                           ด้านที่ 3  คุณภาพการให้บริการที่ได้มาตรฐาน  มี 5 องค์ประกอบ

                                   

         กลไกการตรวจประเมิน :

  1. องค์กรยื่นขอรับการประเมินพร้อมจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ฯ

  2. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติรับคำขอ  และเมื่อมีหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ให้เสนอคณะอนุกรรมการตรวจประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านจัดสวัสดิการสังคมขององค์การสวัสดิการสังคม  ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ พิจารณาให้เสร็จภายในเก้าสิบวัน

  3. คณะผู้ประเมิน ตรวจสอบ ทวนสอบหลักฐานเอกสารต่าง ๆ

  4. คณะผู้ประเมินประเมิน ณ องค์กรผู้ขอรับการประเมิน

  5. คณะผู้ประเมินจัดทำรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรและส่งรายงานการประเมินและข้อคิดเห็นให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ เพื่อส่งให้ผู้ทบทวน

  6. คณะผู้ทบทวนพิจารณารายงานการประเมินและข้อคิดเห็น ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ เพื่อส่งให้คณะอนุกรรมการตรวจประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม ฯ  พิจารณา

  1. คณะอนุกรรมการตรวจประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมขององค์การสวัสดิการสังคม นักสังคมสงเคราะห์และอาสาสมัคร พิจารณารายงานการประเมินและข้อคิดเห็นจากคณะผู้ประเมินและความเห็นของคณะผู้ทบทวน และมีมติให้ความเห็นชอบการรับรองมาตรฐาน

  2. ผ่านการรับรองมาตรฐาน ฯ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติจะดำเนินการขึ้นทะเบียน ออกใบรับรองมาตรฐานและออกเครื่องหมายการรับรองมาตรฐาน  มีอายุ 3 ปี

 

 ลักษณะการตรวจประเมิน :

         1.  การประเมินเชิงปริมาณ

                  1.1   ผู้ได้รับการรับรองต้องผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยได้คะแนนระดับคุณภาพ  ดังนี้

- คะแนนระดับคุณภาพแต่ละข้อต้องมากกว่า 0

- ผลรวมคะแนนระดับคุณภาพแต่ละด้านคิดเป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

- และผลรวมคะแนนระดับคุณภาพทั้ง 3 ด้าน คิดเป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

         2. การประเมินเชิงคุณภาพ

                  - ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง

                  - องค์กรเป็นตัวตั้ง (การประเมินระดับองค์กร) กลุ่มเป้าหมายและองค์กรได้ประโยชน์

                 

วิธีการตรวจประเมิน :

                  1.  ตรวจรายงานการประเมินตนเอง

                  2. แจ้งผลการตรวจประเมินอย่างเป็นทางการ

 

                   ผลการประเมิน :   สถานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี ได้ มีผลตรวจประเมินมาตรฐาน ฯ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3    ด้าน  ดังนี้

                    ด้านที่ 1 การจัดองค์กรและการบริหาร   คะแนนรวม 113 คิดเป็นร้อยละ 90.40

                    ด้านที่ 2 การให้บริการ  คะแนนรวม 20 คิดเป็นร้อยละ 100.00

                    ด้านที่ 3 คุณภาพการให้บริการ  คะแนนรวม 22 คิดเป็นร้อยละ 88.00

                    สรุปค่าเฉลี่ยทั้ง 3 ด้าน คิดเป็นร้อยละ 91.18      

และได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม เลขที่ มสก.๙-๕๑ ลำดับที่ ๐๑๖/๒๕๕๓ ตามมาตรา ๑๕ (๗) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖ จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เมื่อ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมขององค์กรการสวัสดิการสังคม

          สาระสำคัญ :  มาตรฐานองค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการ  กำหนดโดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.)   เป็น ไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต  คนพิการแห่งชาติ พ.ศ. 2550   กำหนดให้มีการจัดทำมาตรฐานให้การรับรองหรือเพิกถอนการรับรอง   องค์กร ด้านคนพิการ หรือองค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการ โดยคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการแห่งชาติ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้ออกระเบียบว่าด้วยการกำหนดมาตรฐาน  การรับรอง และเพิกถอนการรับรององค์กรด้านคนพิการ หรือองค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการ พ. ศ. 2552 รวมทั้งให้ความเห็นชอบในองค์  ประกอบ  ตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินมาตรฐานองค์กรด้าน     คนพิการ  ซึ่งมาตรฐานองค์กรด้านคนพิการ จะเป็นกลไกหนึ่งในการผลักดัน ส่งเสริม ให้องค์กรด้านคนพิการหรือองค์ ก ร อื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการ  มีโครงสร้างการบริหารจัดการ และการจัดบริการที่มีคุณภาพ รวมถึงการพัฒนาองค์กรให้มีความเข้มแข็งมีศักยภาพในการส่งเสริม พัฒนา และคุ้มครองพิทักษ์สิทธิคนพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

           วัตถุประสงค์ :

                           1.  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายคนพิการ ที่ได้รับบริการจากองค์กร  ได้รับการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิเพื่อสร้างหลักประกันให้ได้การพัฒนาเต็มศักยภาพอย่างทั่วถึง เท่าเทียมกัน ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี

                           2. เพื่อให้บุคลากรทุกระดับ ซึ่งปฏิบัติงานให้บริการแก่คนพิการได้ใช้ประโยชน์จากผลการตรวจประเมินในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กรของตน

                           3. เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรไปสู่การยอมรับในระหว่างวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และในระดับสากล

 

           องค์ประกอบตัวชี้วัดและ ระดับคุณภาพการจัดบริการ :

                           ด้านที่ 1  ประสิทธิภาพในการบริหารงานขององค์กร

  ตัวชี้วัด  - มีการจัดองค์กรเพื่อให้บริการแก่คนพิการ

                           ด้านที่ 2   ลักษณะของการให้บริการ

                                      ตัวชี้วัด – มีการจัดรูปแบบและจัดบริการเพื่อการส่งเสริม

      และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

                           ด้านที่ 3  คุณภาพการให้บริการที่ได้มาตรฐาน

                                      ตัวชี้วัด – มีการให้บริการเพื่อการส่งเสริมและ

      พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่มีคุณภาพ

          

         กลไกการตรวจประเมิน :

  1. องค์กรยื่นขอรับการประเมินพร้อมจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ฯ

  2. คณะกรรมการภายนอก (พก. , อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ) ตรวจประเมินองค์กร

  3. คณะอนุกรรมการรับรองมาตรฐานองค์กรด้านคนพิการ หรือ องค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการ พิจารณาการประเมินเห็นชอบการรับรองมาตรฐานฯ

 

 ลักษณะการตรวจประเมิน :

         1.  การประเมินเชิงปริมาณ

                  1.1 คะแนนแต่ละด้าน ๆ ละ ร้อยละ 100  ผลรวมคะแนนแต่ละด้านไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60

                  1.2  ผลคะแนนรวมทั้ง 3 ด้าน มีระดับ ดังนี้

- คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน “ผ่าน”

- คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน   “ระดับดี”

- คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน   “ระดับดีมาก”

         2. การประเมินเชิงคุณภาพ

                  - ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง

                  - องค์กรเป็นตัวตั้ง (การประเมินระดับองค์กร) กลุ่ม เป้าหมายและองค์กรได้ประโยชน์

                 

วิธีการตรวจประเมิน :

                  1.  ตรวจรายงานการประเมินตนเอง

                  2. แจ้งผลการตรวจประเมินอย่างเป็นทางการ

 

 

                   ผลการประเมิน :   สถานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี  ได้รับการเห็นชอบการรับรองมาตรฐานองค์กรด้านคนพิการหรือองค์กรอื่นใดที่ให้บริการ       ที่ให้บริการแก่คนพิการ จากคณะอนุกรรมการการรับรองมาตรฐานฯ ตามประกาศสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ เมื่อวันที่  ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕  ระดับคะแนนร้อยละ 100  

bottom of page